เฮาว์กินซ์ ตัดสินใจที่จะขายตรงสินค้ากับผู้ซื้อและการรวมกลุ่มของบริษัทครั้งนี้คือการบุกเบิกตราสินค้าประเภทเกม ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ยอดการเติบโตพุ่งสูงอย่างเป็นที่หน้าท้าทายของวงการ ในขณะนั้นเม็ดเงินกำไรในปีแรกมีมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีถัดมามียอดกำไรสูงถึง 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อดีตประธาน แลล์รี่ โพรพซ์ เข้ามาดำรงในตำแหน่งรองประธานบริษัทในปี พ.ศ. 2507 ซึ่งเขาได้มีส่วนช่วยให้บริษัทมีการเติบโตที่ยั่งยืนและทำเป้าถึง 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลาสามปีเต็มการประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในการทำยอดขายของผู้จัดทำเกมในสหรัฐอเมริกา เวลาถัดมาได้มีการย้ายไปที่สหราชอาณาจักรเพื่อเปิดตัวสำนักงานใหญ่ในทวีปยุโรป โดย เดวิด การ์ดเนอร์ และ มาร์ค ลีวิส กระทั่งถึงจุดที่อีเอแพร่ผลิตภัณฑ์และเกมจำนวนมากผ่านการแปลงเพื่ออัดข้อมูลลงในรูปแบบของตลับเทปคาสเซ็ท ซึ่งมีการดูแลกิจการในทวีปยุโรปโดยบริษัท เอริโอลาซอฟท์ ขณะเดียวกันบริษัทขนาดย่อยในเวลส์ ได้มีการใช้ชื่อ อิเล็คโทรนิค อาร์ตส และ อิเล็คโทรนิค อาร์ตส ได้รู้จักกันเป็นวงกว้างมากขึ้นอย่างชอบด้วยกฎหมายในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ในชื่อของ อีเอโอ มีต้นแบบมาจากโลโก้ทรงเลขาคณิต ประกอบด้วย สี่เหลี่ยมจตุรัส วงกลม และสามเหลี่ยม การยุติการค้าของบริษัทชนชาติเวลส์ในปี พ.ศ. 2540 ต่อมา ซึ่งทำให้ อิเล็คโทรนิค อาร์ตส เข้าถือสิทธิ์ของชื่อนี้อย่างถูกต้อง
เฮาว์กินซ์ มีพึงพอใจในการใช้คำว่า อิเล็กทรอนิก และเจ้าพนักงานส่วนมากพิจารณากลุ่มคำ "อิเล็คโทรนิค อาร์ทิส" และ "อิเล็คโทรนิค อาร์ต" ขณะเดียวกันมีกลุ่มคนในบริษัทรวมทั้ง กอร์ดอนแนะนำการใช้ชื่อ "บลู ไลท์" ซึ่งอ้างอิงมาจากภาพยนตร์เรื่อง "ทรอน" ในการตอนที่กอร์ดอนและคนอื่นร่วมกันผลักดันชื่อ "อิเล็คโทรนิค อาร์ทิส" ซึ่งนายสตีฟ เฮยร์ มีอาการต่อต้านพร้อมกับกล่าวว่า "พวกเราไม่ใช่จิตกรหรือศิลปิน มันหมายถึงผู้พัฒนาคนที่อีเอจะเลือกเกมมาออกมาแพร่ตลาด" ซึ่งคำอธิบายนี้ทำให้ทัศนคติของชื่อ อิเล็คโทรนิค อาร์ตส เป็นที่เอกฉันท์ในการอนุญาตใช้อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบัน EA มีการก่อตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เรดวูดส์ ชอรส์ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับ เรดวูดส์ ซิตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย จากการถอนตัวของ ทริป ฮาว์กินซ์ ซึ่ง แลล์รี่ โพรพซ์ เข้ารับตำแหน่งต่อในการการควบคุมและบริหารอยู่ในระดับที่ประสบความสำเร็จ นายโพรพซ์ พิจารณาตัวของเขาเองว่าเป็นผู้ชายที่มีกฎระเบียบในการปฏิบัติ เขาปฏิเสธการทำตามของ บริษัทเทค ทู อินเทอแรคทีฟ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการทำงานร่วมกัน ในการทำเกมชื่อ แกรนด์เธฟต์ออโต ที่จัดอยู่ในประเภท เอ็ม เรท ซึ่งหมายถึงประเภทของเกมที่ไม่เหมาะสมกับผู้มีอายุต่ำกว่าสิบเจ็ดปี ซึ่งประกอบไปด้วยภาพ เสียงและข้อมูลที่รุนแรงและอาจจะปะปนเรื่องของเพศ ต่อมาแกรนด์เธฟต์ออโตกลายเป็นเกมที่มีอำนาจครอบงำต่อสถิประชากรจำนวนมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ถึง 2546 ผลที่ตามมาคือ นาย โพรบส์ ออกมาวิจารณ์อย่างหนักกับนักวิเคราะห์ของ วอล์ลสตรีท คนที่เชื่อว่าเป็นเพราะนโยบายนี้ หลักทรัพย์ของบริษัทอีเอจึงมียอดราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ต่อมาในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 อีเลคโทรนิค อาร์ต ตีพิมพ์เอกสารแสดงผลกำไรที่ออกมาว่ากล่าวเรื่องการขาดแคลนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการขายสินค้าได้ต่ำกว่าเป้า
...........................................................................................
.................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น